สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่านในบทความนี้เว็บไซต์ JANGWAT.COM จะขอนำเสนอรายชื่อ อบจ. ลิงค์เว็บไซต์ของ อบจ.ในแต่ละจังหวัด และข้อมูลเกี่ยวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาให้ทุกท่านครับผม

อบจ. คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร

อบจ. (องค์การบริหารส่วนจังหวัด) คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีจังหวัดละหนึ่งแห่ง ยกเว้นกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีเขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมทั้งจังหวัด จัดตั้งขึ้นเพื่อบริการสาธารณประโยชน์ในเขตจังหวัด ตลอดทั้งช่วยเหลือพัฒนางานของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) รวมทั้งการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อไม่ให้งานซ้ำซ้อน
ที่มา wikipedia

รายชื่อ อบจ. ทั่วประเทศไทย

ลำดับจังหวัดเว็บไซต์ อบจ.
1กระบี่อบจ.กระบี่
2กาญจนบุรีอบจ.กาญจนบุรี
3กาฬสินธุ์อบจ.กาฬสินธุ์
4กำแพงเพชรอบจ.กำแพงเพชร
5ขอนแก่นอบจ.ขอนแก่น
6จันทบุรีอบจ.จันทบุรี
7ฉะเชิงเทราอบจ.ฉะเชิงเทรา
8ชลบุรีอบจ.ชลบุรี
9ชัยนาทอบจ.ชัยนาท
10ชัยภูมิอบจ.ชัยภูมิ
11ชุมพรอบจ.ชุมพร
12เชียงรายอบจ.เชียงราย
13เชียงใหม่อบจ.เชียงใหม่
14ตรังอบจ.ตรัง
15ตราดอบจ.ตราด
16ตากอบจ.ตาก
17นครนายกอบจ.นครนายก
18นครปฐมอบจ.นครปฐม
19นครพนมอบจ.นครพนม
20นครราชสีมาอบจ.นครราชสีมา
21นครศรีธรรมราชอบจ.นครศรีธรรมราช
22นครสวรรค์อบจ.นครสวรรค์
23นนทบุรีอบจ.นนทบุรี
24นราธิวาสอบจ.นราธิวาส
25น่านอบจ.น่าน
26บึงกาฬอบจ.บุรีรัมย์
27บุรีรัมย์อบจ.ปทุมธานี
28ปทุมธานีอบจ.ประจวบคีรีขันธ์
29ประจวบคีรีขันธ์อบจ.ปราจีนบุรี
30ปราจีนบุรีอบจ.พระนครศรีอยุธยา
31ปัตตานีอบจ.พะเยา
32พะเยาอบจ.พังงา
33พระนครศรีอยุธยาอบจ.พัทลุง
34พังงาอบจ.พิจิตร
35พัทลุงอบจ.พิษณุโลก
36พิจิตรอบจ.เพชรบุรี
37พิษณุโลกอบจ.เพชรบูรณ์
38เพชรบุรีอบจ.แพร่
39เพชรบูรณ์อบจ.ภูเก็ต
40แพร่อบจ.มหาสารคาม
41ภูเก็ตอบจ.มุกดาหาร
42มหาสารคามอบจ.แม่ฮ่องสอน
43มุกดาหารอบจ.ยโสธร
44แม่ฮ่องสอนอบจ.ยะลา
45ยโสธรอบจ.ร้อยเอ็ด
46ยะลาอบจ.ระนอง
47ร้อยเอ็ดอบจ.ระยอง
48ระนองอบจ.ราชบุรี
49ระยองอบจ.ลพบุรี
50ราชบุรีอบจ.ลำปาง
51ลพบุรีอบจ.ลำพูน
52ลำปางอบจ.เลย
53ลำพูนอบจ.ศรีสะเกษ
54เลยอบจ.สกลนคร
55ศรีสะเกษอบจ.สงขลา
56สกลนครอบจ.สตูล
57สงขลาอบจ.สมุทรปราการ
58สตูลอบจ.สมุทรสงคราม
59สมุทรปราการอบจ.สมุทรสาคร
60สมุทรสงครามอบจ.สระแก้ว
61สมุทรสาครอบจ.สระบุรี
62สระแก้วอบจ.สิงห์บุรี
63สระบุรีอบจ.สุโขทัย
64สิงห์บุรีอบจ.สุพรรณบุรี
65สุโขทัยอบจ.สุราษฎร์ธานี
66สุพรรณบุรีอบจ.สุรินทร์
67สุราษฎร์ธานีอบจ.หนองคาย
68สุรินทร์อบจ.หนองบัวลำภู
69หนองคายอบจ.อ่างทอง
70หนองบัวลำภูอบจ.อำนาจเจริญ
71อ่างทองอบจ.อุดรธานี
72อำนาจเจริญอบจ.อุตรดิตถ์
73อุดรธานีอบจ.อุทัยธานี
74อุตรดิตถ์อบจ.อุบลราชธานี
75อุทัยธานีอบจ.บึงกาฬ
76อุบลราชธานีอบจ.ปัตตานี
ตารางแสดง รายชื่อ อบจ. และเว็บไซต์ อบจ.แต่ละจังหวัดในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมาของ อบจ.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือเรียกชื่อย่อว่า อบจ. เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่มีการปกครองอยู่ในปัจจุบัน ได้มีการปรับปรุงแก้ไขและวิวัฒนาการมาตามลำดับ โดยจัดให้มีสภาจังหวัดเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2476 ตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ฐานะของสภาจังหวัดขณะนั้น มีลักษณะเป็นองค์กรแทนประชาชน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือแนะนำแก่คณะกรรมการจังหวัด และมีการปรับปรุง อำนาจหน้าที่เรื่อยมา จนกระทั่ง พ.ศ. 2498 รัฐบาลในสมัยนั้น คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีความพยายามในการจัดการปกครองท้องถิ่น ได้มีแนวคิดที่จะปรับปรุงบทบาทสภาจังหวัด ให้มีประสิทธิภาพ และให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการปกครองตนเองมากยิ่งขึ้น จึงได้เกิดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้น ตามระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 โดยกำหนดให้ อบจ. มีฐานะเป็นนิติบุคคล และแยกจากจังหวัด ซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาค มีโครงสร้างและ องค์ประกอบของ อบจ. ใช้มาจนถึง พ.ศ. 2540 สำหรับอำนาจหน้าที่ของ อบจ. ในขณะนั้น กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินส่วนจังหวัด ภายในเขตจังหวัดซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล สุขาภิบาล และหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบอื่น

อำนาจหน้าที่ของ อบจ.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด

  1. ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย
  2. จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
  3. สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
  4. ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
  5. แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
  6. อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด  พ.ศ. 2498  เฉพาะภายในเขตสภาตำบล
  7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม บำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
  8. จัดทำกิจการใด ๆ  อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ที่อยู่ร่วมกันดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดดำเนินการ  แต่ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  9. จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ทั้งนี้บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาค อาจมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติได้ ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ก็จบไปแล้วนะครับสำหรับรายชื่อ อบจ.ใครที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็สามารถอ่านได้จากเนื้อหาของเราที่นำเสนอกันได้เลยนะครับ แล้วพบกันใหม่ได้ในเนื้อหาบทต่อๆ ไป สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อนแล้วเจอกันใหม่ครับทุกคน บายๆ

NOTE : ข้อมูลของ อบจ. ป็นเพียงเนื้อหาเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางประกอบให้กับผู้ที่กำลังหาข้อมูลของ อบจ.ทั่วประเทศไทย หากมีข้อผิดพลาดประการใดทางทีมงานของ Babform.com ต้องขออภัยด้วยนะครับ ทางทีมงานจะพยายามหาเนื้อหาที่เป็นประโยชน์มาให้กับทุกท่านในเนื้อหาต่อๆ ไปครับผม

อ่านต่อ